เมนู

ใกล้ เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งในที่นั้น เป็นผู้อยู่ใกล้. ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด
ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอน อันเป็นที่ตั้งแห่ง
พระธรรมเทศนา และเพราะเป็นผู้มีความวิเศษ. เทศนานี้ หมายถึงภิกษุ
บางพวก เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น.

ว่าด้วยการละ 5 อย่าง


ชื่อว่าปหานะ ในบทนี้ว่า ปชหถ นี้ มี 5 อย่าง คือ ตทังคปหาน 1
วิกขัมภนปหาน 1 สมุจเฉทปหาน 1 ปฏิปัสสัทธิปหาน 1 นิสสรณ-
ปหาน 1
ในปหานะ 5 อย่างนั้น การละความโลภเป็นต้น ด้วยความไม่โลภ
เป็นต้น การละสิ่งไม่มีประโยชน์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณ มีการกำหนดนามรูป
เป็นต้น เพราะเป็นปฎิปักษ์กัน เหมือนการกำจัดความมืดด้วยแสงประทีป
ฉะนั้น เช่นการละมลทินมีโลภเป็นต้นด้วยการบริจาค การละทุศีลมีปาณาติบาต
เป็นต้นด้วยศีล การละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น ด้วยศรัทธา การละสักกายทิฏฐิ
ด้วยกำหนดนามรูป การละทิฏฐิอันเป็นอเหตุกะและวิสมเหตุ ด้วยการกำหนด
ปัจจัย การละความสงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัยส่วนอื่นๆ นั้นเสียได้ การ
ละความถือมั่นว่าเราของเรา ด้วยพิจารณาเห็นเป็นกลาปะ (กอง) การละความ
เห็นในสิ่งที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและอมรรค การละ
อุจเฉททิฏฐิ ด้วยการเห็นความเกิด การละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม การละ
ความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นภัย การละความสำคัญใน
สิ่งที่ชอบใจ ด้วยการเห็นโทษ การละความสำคัญ ในสิ่งที่น่าอภิรมย์ ด้วยการ
พิจารณาถึงความเบื่อหน่าย การละความที่ไม่อยากหลุดพ้น ด้วยญาณ คือ ความ
อยากพ้น การละความไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ การละธรรมฐิติ ด้วย
อนุโลม การละความเป็นปฏิโลม ด้วยนิพพาน การละความเป็นสังขารนิมิต
ด้วยโคตรภู การละนี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละชั่วคราว).